ได้ยินชื่อนี้มานาน Suzuki Music
โรงเรียนสอนดนตรีบางแห่งจะระบุชัดเลยว่า เราสอนแบบซูซุกินะ ไม่เคยกระจ่างเท่าวันนี้ว่าซูซุกิคือการสอนแบบนี้นี่เอง เพราะมัมสกรีมได้คุยกับคุณ อ้อมพร โฆวินทะ ผู้นำเข้าการสอนหลักสูตรซูซุกิคนแรกของประเทศไทย
คุณอ้อมพรเองเป็นนักไวโอลินและวิโอล่าของวง Pro Musica และเล่นคอนเสิร์ตแบบ chamber music กับกลุ่มเพื่อนนักดนตรีด้วย และยังมีสตูดิโอสอนไวโอลินสำหรับเด็กเล็ก Albyrd Violin Studio อีก ถ้าพูดถึงความเชี่ยวชาญเรื่องการสอนแบบซูซุกิ ต้องยกให้เธอเป็นตัวแม่ เพราะเธอคือแชร์ เพอร์ซันของ Thailand Association for Talent Education หลักการสอนสูตรซูซุกิโดยตรงเลยทีเดียว
และนี่คือสิ่งที่คุณอ้อมพรเล่าให้เราฟัง ว่าทำไมแม่ๆ ถึงน่าจะให้ลูกๆ ไปเรียนดนตรีแบบซูซุกิ ก็เพราะ….
1 ซูซุกิเป็นการสอนดนตรีที่เน้น “บุคลิกมาก่อน ความสามารถมาทีหลัง” แปลว่าเด็กๆ จะได้รับอินเนอร์เรื่องดนตรี ให้มีความรักในดนตรีก่อน แล้วค่อยไปพัฒนาเรื่องความสามารถทีหลัง ครูจะให้เด็กๆ ฟังดนตรี ให้ซึมซับก่อน ฟังจนคุ้นชิน จะทำให้เด็กรุ้ทำนองก่อน แล้วค่อยเรียนเรื่องตัวโน้ตทีหลัง
2 เด็กๆ ที่เรียนดนครีซูซุกิ ส่วนใหญ่โตขึ้นมาจะมีทักษะการฟังที่ดี จะมีหูที่เรียกว่า “เพอร์เฟ็คท์ พิทช์” คือฟังเพลงแล้วบอกได้ว่าเป็นตัวโน้ตอะไร
3 ซูซุกิ คือชื่อของ ชินอิชิ ซูซุกิ เขาไม่เคยไวโอลิน แต่จะฟังเสียงสีไวโอลิน แล้วสอนให้ตัวเองเล่นตามจนเล่นได้ดี พอโตขึ้นเขาไปเรียนต่อที่เยอรมัน ลุงของเขาฝากเขากับเพื่อนที่เป็นด็อคเตอร์ และเพื่อนคนนั้นก็ฝากเขากับคนเยอรมันให้ช่วยดูแลเขา และคนๆ นั้นก็คือ “อัลเบิร์ต ไอสไตน์” ซูซุกิเลยโตมากกับนักคิด นักปราชญ์รอบตัว
4 ซูซุกิค้นพบว่าเด็กเล็กๆ 3-4 ขวบ มีความสามารถแบบไร้ขีดจำกัดมาก เขาสังเกตว่าเด็กเล็กๆ จะเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ
5 ซูซุกิสอนดนตรีไปตามธรรมชาติเด็ก เหมือนกับเด็กที่หัดพูด เขาไล่ไปตามสเต็ปคือ ท่ายืนจับไวโอลินที่ถูกต้อง จับคันชักที่ใช่ จับตัวไวโอลิน เขาฝึกท่าทางให้เด็กชินก่อน แล้วค่อยเอาทุกอย่างมารวมกัน เหมือนกับเด็กที่เริ่มหัดพูดเป็นคำ แล้วมารวมเป็นประโยค
6 ซูซุกิจะสอนแบบเน้นให้พ่อแม่เข้ามาเรียนด้วย เขาเชื่อว่า”ความสัมพันธ์ของแม่กับลูกมีผลต่อการเรียนของเด็ก” ช่วงแรกๆ แม่จะต้องเข้ามาเรียนด้วยทุกครั้ง เรียนฝึกท่ายืนด้วยกัน จับคันชักด้วยกัน เมื่อแม่เข้าใจก็จะช่วยดูลูกเวลาฝึกได้ แบบไม่ต้องรอครูมาเช็ค
7 พ่อแม่จะได้รู้จักลูกตัวเองมากขึ้น และลูกๆ ก็จะได้เรียนรู้ที่จะฟังพ่อแม่ด้วย และลูกจะรู้สึกเป็นทีมเวิร์คกับพ่อแม่
8 ซูซุกิเป็นการเรียนที่ไม่มีการวัดผลใดๆ จะให้เป็นใบประกาศนียบัตรเฉยๆ จะไม่เน้นให้เด็กต้องแข่งกับใคร แม้กระทั่งแข่งกับตัวเอง การก้าวไปข้างหน้าคือการได้เริ่มเรียนในสมุดโน้ตเพลงเล่มต่อไป
9 เด็กที่เรียนซูซุกิ จะรู้สึกว่าการซ้อมไม่ใช่เรื่องที่ต้องเข็นตัวเองนัก เขาจะรู้สึกว่าการเล่นไวโอลินเป็นแค่ส่วนหนึ่งของกิจกรรมของชีวิต เขาจะมีธรรมชาติของตัวเขาไหลไปกับดนตรีได้เอง
10 ซูซุกิจะเน้นให้เด็กเล่นดนตรีกันเป็นกลุ่ม เพื่อที่จะได้ให้กำลังใจกัน ผลักดันกันไปเองกับเพื่อนๆ ในกลุ่ม และจะเน้นฝึกทักษะให้ทำงานร่วมกับคนอื่นด้วย เพราะในชีวิตจริง นักดนตรีต้องเล่นกันเป็นวงอยู่แล้ว
11 ซูซุกิเชื่อว่าการซ้อมดนตรีทุกวัน จะช่วยให้เด็กเป็นคนมีความเคารพคนอื่น และเชื่อฟังพ่อแม่ได้ดี และการซ้อมดนตรีจะเหมือนแปรงฟัน คือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และไม่ต้องใช้เวลาซ้อมนาน
12 เด็กๆ ที่เรียนซูซุกิ จะรู้สึกว่าความพยายามที่เราฝึกมา จะเห็นผล รู้สึกภูมิใจในตัวเอง มีคุณค่ากับตัวเอง และจะเอาแอตติจูดแบบนี้ไปพัฒนาใช้กับชีวิตในด้านอื่นๆ ตามมาด้วย
13 เมื่อเด็กๆ โตขึ้นการเรียนดนตรีแบบนี้ จะกล่อมเกลาให้เขาเป็นเด็กที่เครียดน้อยลง เวลาเขาอ่านหนังสือแล้วเริ่มเครียด เขาจะเบรคตัวเองไปเล่นดนตรี และพออยู่ในโลกของการทำงาน ดนตรีก็จะช่วยเขาได้เสมอเหมือนกัน
14 ซูซุกิเชื่อว่า “เด็กทุกคนสามารถเล่นดนตรีได้” ความเชื่อสำคัญต่อซูซุกิ ครูจะเชื่อว่าเด็กทุกคนเล่นดนตรีได้ ครูจะสอนไปช้าๆ แต่จะไม่เลิกสอน ครูจะพยายามหาแนวทางสอนที่ใช่จนเจอ เพราะเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน อย่างเช่นเด็กบางคนที่มีกล้ามเนื้อไม่แข็งแรงพอจะเล่น ครูก็จะไม่ลดความพยายาม
15 ครูที่สอนหลักสูตรซูซุกิ จะต้องได้รับเซอร์ติไฟด์จากสถาบันซูซุกิเท่านั้น! มีที่ในเอเชีย และในเมืองไทยก็มี
16 จุดประสงค์ของซูซุกิคือไม่ได้ต้องการเห็นคนเล่นดนตรีเก่ง แต่จะสร้างเยาวชนให้มีคุณภาพ เพราะจุดมุ่งหมายแรกที่เขาคิดการสอนแบบนี้มา ก็เพื่อช่วยเด็กๆ ให้มีสภาพจิตใจที่ดีขึ้นหลังยุคสงครามโลก เหมือนที่ซูซุกิเขาเคยพูดไว้ว่า “Perhaps, music can save the world.”
มัมสกรีมขอขอบคุณ คุณอ้อมพร โฆวินทะ และถ้าใครอยากให้ลูกเรียนดนตรีกับเธอ
ลองติดต่อได้ที่ Albyrd Violin Studio, ถ. สุขุมวิท 41
โทร. 02-662-6662, 061-553-6989 (โปรดนัดหมายล่วงหน้า)
หรืออีเมลล์สอบถามได้ที่ e-mail: [email protected]
LIKE US : Facebook.com/Momscream
© Copyright 2018 www.momscream.com