Family

ทำไมเราถึงรู้สึกว่า Denla British School เป็นโรงเรียนอินเตอร์หัวใจไทย ที่แข็งแกร่งมากในตอนนี้?



มัมสกรีมได้รู้จักกับพี่ต้อม คุณสาธิมา ทานาเบ้ จีเอ็มคนสำคัญของโรงเรียนเด่นหล้า บริติช สคูล โรงเรียนอินเตอร์เปิดใหม่ล่าสุดในปีนี้ อยู่แถวๆ ราชพฤกษ์ พี่ต้อมเป็นพี่ที่เราเคารพมานาน และพอเธอย้ายมาทำงานจากสายมาร์เก็ตติ้ง มาเป็นสายการศึกษา เลยต้องขอเลยว่า “พี่ต้อม ขอไปดูโรงเรียนหน่อยเถอะ อยากรู้ว่าเป็นยังไง” แล้วพี่ต้อมก็นัดเรามาเรียบร้อย แอบหลงทางมาถึงโรงเรียนสายอีก แล้วคนที่มาต้อนรับเรานี่ ทำให้เราต้องอุทานกับตัวเอง “โอ้ววว” ผู้ชายใส่สูทร ผูกไท ท่าทางแสนจะสุภาพ กับแววตาเป็นมิตรสองท่านที่เดินยิ้มมาต้อนรับเราคือ ดร.ต่อยศ (ดร. อ๊อค) และดร. เต็มยศ (ดร. โอม) ปาลเดชพงศ์ ลูกชายของอาจารย์อารย์ ผู้ก่อตั้งอนุบาลเด่นหล้าอันโด่งดัง มีความเกร็งเล็กน้อยที่จะได้คุยกับด็อคเตอร์ทั้งสอง ด็อคเตอร์เริ่มทุกเรื่อง ทุกดีเทลที่เป็นหัวใจของเด่นหล้า บริติช สคูลให้เราฟัง ฟังแล้วมีอาการค้างลึกๆ ในใจ “โอ๊ยยยย อยากให้ลูกมาเรียนมาก” โรงเรียนนี้มีความเป็นมาสคูลีนที่น่าสนใจจัง แค่ความจริงจัง และจริงใจของสองด็อคเตอร์ที่เราคุยด้วยตลอด 2 ชั่วโมง เรามั่นใจลึกๆ ยังไงไม่รู้ว่า เด่นหล้า บริติช สคูลคือโรงเรียนอินเตอร์ที่แข็งแกร่ง แต่มีหัวใจของความเป็นคนไทยอันนุ่มนวลแฝงอยู่เต็มๆ เลย

“คอนเซ็ปต์ของเราเหมือนเดิม และเป็นส่วนตัวเสมอ” คือประโยคแรกที่ด็อคเตอร์อ๊อคเล่าเรื่องโรงเรียนให้เราฟัง อนุบาลเด่นหล้าคือตำนาน และคือจุดเริ่มที่ด็อคเตอร์ทั้งสองมาทำโรงเรียนนี้ “อนุบาลเด่นหล้าตั้งมาเมื่อ 39 ปีที่แล้ว คุณพ่อเห็นว่าลูกจะต้องเข้าโรงเรียน คือพี่สาวคนโต ตอนแรกเขาดูโรงเรียนราชินีไว้ ต้องออกจากบ้านตอนตี 5 แล้วกว่าจะกลับก็เป็นคนสุดท้าย คุณพ่อคุณแม่เลยคิดว่าไม่ไหวนะ ลูกเพิ่งสามขวบเอง ก็เลยคิดทำโรงเรียนขึ้นมาแล้วกัน จะคล้ายๆ กับโฮม สคูลเลย ในใจก็คิดว่าถ้าเรียนจบคงปิดโรงเรียนไป ตอนเริ่มเปิดมีนักเรียน 17 คน ก็เป็นญาติๆ เพื่อนบ้านทั้งนั้น ทุกคนเรียนฟรีหมด มีครูอยู่ 3 คน” ความเป็นโรงเรียนเล็ก คลาสเรียนเล็กนี่ล่ะ เด็กๆ เลยมีพัฒนาการกันเต็มที่ เป็นเด็กที่มีความสุข และประสบความสำเร็จในเวลาต่อมา หลังจากนั้นก็มีพ่อแม่อยากให้ลูกๆ เรียนกัน ความต้องการเยอะขึ้นมาก ต้องเปิดโรงเรียนเป็นเด่นหล้าสาขาที่สองนั่นเอง

ผ่านมาหลายสิบปี ด็อคเตอร์อ๊อค และด็อคเตอร์โอมได้ไปเรียนต่างประเทศ จนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก แต่หัวใจรักการศึกษาสืบทอดมาจากคุณพ่อก็ยังอยู่เสมอ เกิดเป็นแรงขับให้อยากสร้างระบบการศึกษาที่ดีให้กับเด็กไทย ด็อคเตอร์อ๊อคบอกว่า

“เมื่อสี่ห้าปีที่แล้ว เราเห็นเทรนด์ว่าพ่อแม่ไทยผิดหวังกับระบบการศึกษาไทย ที่เน้นให้เด็กท่องจำมากกว่าฝึกคิดเอง เด็กไทยมีงบจากกระทรวงศึกษาสูงสุดในอาเซียน แต่ทำไมกลับได้ระดับการศึกษาที่ไม่ค่อยดีในอาเซียน ภาษาอังกฤษก็ไม่ดี ครอบครัวไทยเลยมาให้ความสำคัญกับการเรียนที่เป็นแบบโฮลิสติคมากขึ้น คือเน้นที่องค์รวม ไม่ใช้เน้นที่วิชาเลข ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ”

ด็อคเตอร์ทั้งสองเลยตั้งเป็น Denla British School ขึ้นมา คือสร้างโรงเรียนให้ตอบโจทย์สังคมไทย เน้นให้นักเรียนพัฒนาตัวเองไปตามความถนัดของแต่ละคน มีครูที่เชี่ยวชาญ อย่างน้อยต้องมีประสบการณ์การสอนมา 5 ปี เป็นครูชาวอังกฤษทั้งหมด ผ่านการคัดเลือกมาแบบเข้มข้น ครูคือความเป็นเกรดเอของเด่นหล้าที่ด็อคเตอร์ให้ความสำคัญมากๆ และที่เด่นหล้าต่างจากโรงเรียนอินเตอร์ที่อื่นๆ อีกก็คือ จะเน้นเรื่องเทคโนโลยีให้เด็กๆ คู่ไปด้วย ที่นี่มีห้อง MAC Lab ที่ต้องได้มาตรฐานของ Apple เท่านั้นถึงจะทำได้

เราถามด็อคเตอร์เลยว่า แล้วเรื่องหลักสูตรล่ะ ทำไมต้องเป็นของอังกฤษด้วย เรื่องนี้ด็อคเตอร์โอมเชี่ยวชาญมาก เพราะศึกษามาเป็นอย่างดี ด็อคเตอร์เล่าให้เราฟังแบบกระจ่างเนตรกันเลยว่า “หลักสูตรอังกฤษจะเน้นเรื่องความชำนาญ ความเชี่ยวชาญ ความสำคัญของเนื้อหา ในขณะที่อเมริกันจะเน้นเป็นรายบุคคล ของอังกฤษเน้นความเป็นสังคม ทำงานเป็นทีมเวิร์ค รุ่นพี่ รุ่นน้องจะดูแลกัน เขายังมีเรื่องขนบธรรมเนียมมากกว่า อย่างทานข้าวในโรงอาหาร ก็จะไม่เสียงดัง จะเน้นเรื่องมารยาทด้วย ว่าเราอยู่ในกลุ่มคนเยอะๆ เราต้องเคารพกัน เราเลยมองว่าอันนี้เข้ากับครอบครัวไทยเลย” ด็อคเตอร์บอกให้เรานึกภาพหนังเรื่องแฮรี่ พ็อตเตอร์ นั่นล่ะใช่เลย!

ความเจ๋งของเด่นหล้า บริติช สคูลที่เด่นขึ้นมาก็คือแอตติจูดของผู้ก่อตั้งนี่ล่ะ ด็อคเตอร์บอกว่า

“ผมว่าไม่มีโมเดลอะไรดีที่สุดนะ มีแต่ว่าโรงเรียนไหนจะเหมาะกับเราที่สุดมากกว่า ถ้าจะให้ดีต้องลบทุกโมเดลทิ้ง แล้วสร้างขึ้นมาใหม่เลย ของเราเลยสร้างหลักสูตรการสอนแบบเน้นการสอนของโรงเรียนเอกชนท้อปๆ ในอังกฤษ เพราะวัดกันมาแล้วว่าเด็กจากโรงเรียนเอกชนจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ ได้มากกว่า เป็นหลักสูตรที่ดีที่สุดหลักสูตรหนึ่ง เราจะเน้นให้เด็กได้ทั้ง 3 ภาษาคือไทย อังกฤษ จีน และเรามุ่งให้เด็กเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกได้ อีกอย่างคือเราจะพัฒนาสกิลล์ของความเป็นผู้นำ และผู้ประกอบการด้วย สุดท้ายเลยคือเราไม่ลืมวัฒนธรรมไทย เด็กที่เรียนที่นี่จะอยู่ในประเทศไทยได้อย่างมีความสุขแน่นอน”

ที่เด่นหล้า บริติช สคูลเลยจะมีขยายเวลาเรียนของเด็กแต่ละชั้นปีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงในอนาคตจะมีเป็นโรงเรียนประจำกันเลยทีเดียว ที่พอเรียนเสร็จ เล่นกีฬา ทำการบ้าน นอน วันเสาร์แข่งกีฬากัน เหมือนโรงเรียนท้อปๆ ในอังกฤษ วิธีนี้ด็อคเตอร์บอกว่า “ทำให้เด็กไม่ต้องไปติวเพิ่มที่ไหน และสามารถมีความรู้แน่นพอสอบเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ ได้แน่นอน” เด็กๆ ที่นี่จะได้รับการสอนในเรื่องของการเขียน ที่ด็อคเตอร์เสริมด้วยว่า “เด็กจากโรงเรียนอินเตอร์หลายๆ คนเขียนไม่ค่อยดี ตัวนี้เลยเป็นอีกตัวที่ตัดเชือกกันตอนเข้ามหาวิทยาลัย แต่เราจะสอนให้เด็กเขียนเอสเสได้ด้วย” เรียกว่าเป็นอะคาเดมิคเต็มขั้น เพื่อปูอนาคตกันชัวร์ๆ ไปเลย

สไตล์ของทีนี่เลยเน้นพัฒนาการไปตามวัย และมองไกลไปจนถึงเรียนมหาวิทยาลัย เรื่องกีฬา ดนตรี เด่นหล้า บริติช สคูลก็เน้นสอนให้เด็กเล่นเป็นให้มากที่สุด ด็อคเตอร์อ๊อคเล่าว่า “ผมเคยเจออาจารย์คนหนึ่ง เขาบอกว่า “อย่าให้เด็กเสียโอกาสของเขานะ” เพราะจริงๆ แล้วเขาเรียนรู้ได้หลายอย่าง แต่เราไม่มีให้เขาเรียน ที่นี่เลยมีครบทุกสิ่ง แต่ละชั้นปีก็จะเรียนดนตรีไม่เหมือนกันไปเรื่อยๆ จนมารวมเป็นวงได้ และถ้าใครมีแวว ก็จะแยกสอนเดี่ยวเพิ่มเลย เรื่องกีฬาเราจัดเต็มมาก พอเข้ามหาวิทยาลัย เด็กที่เรียนจากเราจะเล่นกีฬาเป็นหมด เขาไปเจออะไรที่พร้อมรอเขาอยู่ เขาจะได้ไม่เสียโอกาส” ระหว่างที่เราเดินดูโรงเรียน ที่ต้องว้าวมากๆ ก็คือโรงเรียนนี้มีลู่วิ่งรอบสนามฟุตบอลใหญ่ขนาด 11 ไร่ ขนาดมาตรฐานโลกกันเลย มีสระว่ายน้ำที่เป็นน้ำเกลือ ครูที่สอนก็เป็นโค้ชเคยผ่านการเป็นนักกีฬาทีมชาติมาแล้ว

ทั้งคุยกับด็อคเตอร์ทั้งสอง และเดินดูโรงเรียนจนทั่ว ความรู้สึกที่มีต่อเด่นหล้า บริติช สคูลคือ โรงเรียนนี้เป๊ะมาก ทั้งด้านวิชาการ อะคาเดมิค เทคโนโลยี อย่างมีห้องหนึ่งเจอครู ครูใช้ไอแพดสอนเด็ก ครูบอกว่า “ดูจากไอแพดผมจะรู้หมดว่าเด็กกำลังสนใจอะไรอยู่ จะได้ช่วยพัฒนาเขาต่อได้” มีห้องวิทยาศาสตร์ที่นักเรียนสามารถสร้างโมเดลขึ้นมาเป็นหุ่นเรซิ่นในความคิดกันได้เลย ห้องคอมพิวเตอร์แอปเปิ้ลอลังการมาก ห้องศิลปะมีอุปกรณ์วางเรียงกันเป็นชั้นๆ ห้องดนตรีก็มีเครื่องดนตรีครบทุกชนิด ยังมีตึกสปอร์ตทั้งตึก มีโรงละคร มีแดนซ์ สตูดิโออีก เอาเป็นว่าลูกเรายังไงก็จะต้องหาตัวตนของตัวเองเจอแน่นอน และครูใหญ่ที่มีประสบการณ์ในโรงเรียนเอกชนอังกฤษรุ่นท้อปมานาน ครูทั้งหลายที่แอบเฮี้ยบ เอาจริง และอีคิวเป็นเลิศ


เป็นโรงเรียนอินเตอร์ที่ครบสุดๆ ชอบอีกอย่างคือความตั้งใจของด็อคเตอร์ทั้งสอง คือมันยากมากนะที่จะทำโรงเรียนแบบนี้ ต้องสร้างอะไรจากศูนย์มากมายขนาดนี้ และด็อคเตอร์ทั้งสองน่ารักมากๆ พร้อมจะให้คำแนะนำทุกสิ่ง เป็นเจ้าของโรงเรียนที่พ่อแม่จะเข้าถึงได้ พี่ต้อมบอกเราด้วยว่า ที่นี่ถ้าเด็กคนไหนเรียนดี ได้ทุนการศึกษาจริงจังกันไปเลย เจ้าของโรงเรียนสนับสนุนเด็ก และเชื่อในศักยภาพเด็กไทยอย่างมาก แม่ๆ อยากเข้าไปดูโรงเรียน ลองเข้า www.DBSBangkok.ac.th  กันเลยนา

 

เตรียมพบกับวัน Open House ของโรงเรียนเด่นหล้า บริติช สคูล 

วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 นี้ 

 

Special!! พิเศษมากๆ พ่อแม่ที่สนใจสมัครเรียนในวันนี้ จะไม่เสียค่าแรกเข้า 150,000 บาท

ตามระยะเวลาลงสมัครเรียนที่กำหนด ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เพจ Denla British School

ลงทะเบียนได้ที่นี่: https://goo.gl/forms/TFhmANRQYSYp1EJC2

 

Contact

ที่อยู่: 58 Moo2 Ratchapruek Road, Om Kret, Pak Kret, Nonthaburi, 11120
Email: [email protected]
Tel. 02-666-1933 / 062-445-3377

http://www.dbsbangkok.ac.th/main/contact/

Google Map

 

 

Tags: , , ,
27 September, 2017
Family